
การปิดมัสยิด ไม่ได้เป็นการทำลายศาสนา
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول لله أما بعد :
|○ ผู้คัดค้านการปิดมัสยิดได้อ้างกฎเกณฑ์หนึ่งขึ้นมาว่า :
إن حفظ الدين مقدم على حفظ النفس
“แท้จริงแล้วการธำรงไว้ซึ่งศาสนา ย่อมมาก่อนการรักษาไว้ซึ่งชีวิต”
■ ผู้คัดค้านได้กล่าวว่า : ดังกล่าวนี้คือ ทั้งหมดทั้งมวลในข้อประมวลและรากฐานของมูลนิติศาสตร์และยังเป็นหลักการเห็นที่พ้องกันของผู้คนทั้งหลาย
ประเด็นตรงนี้จำต้องเจียระไนว่า :
ليس صحيحاً أن الأصوليين أجمعوا على تقديم حفظ الدين على النفس، بل هناك اتجاه أصولي قوي يرى تقديم حفظ النفس على الدين وممن قالوا به من مشاهير الأصوليين: الرازي، والقرافي، والبيضاوي، وابن تيمية، والإسنوى، والزركشي؛ لأن حفظ الدين لا يقوم إلا بحفظ النفس، ولأن الله أباح للمسلم النطق بكلمة الكفر حفاظا على نفسه.
● ดังกล่าวนี้นั้นถือว่าไม่ถูกต้อง ในการที่ปราชญ์ในด้านมูลฐานนิติศาสตร์ได้มีหลักการที่เห็นตรงกันว่า : ให้รักษาศาสนาไว้ก่อนการรักษาชีวิต
▪︎ แต่ในทางตรงกันข้ามของหลักมูลฐานนิติศาสตร์ที่มีความแข็งแรงด้านหลักฐานยิ่งกว่านั้น มีความเห็นให้รักษาชีวิตไว้ ก่อนจะรักษาไว้ซึ่งศาสนา
▪︎ และบรรดาปราชญ์ผู้ที่ได้ทิ้งคำกล่าวนี้ไว้นั้น เป็นหนึ่งในบรรดาปราชญ์ทั้งหลายที่ลือลั่นในด้านวิชามูลฐานนิติศาสตร์ อาทิ อัรรอซีย์, อัลกอรอฟีย์, อัลบัยฎอวีย์, อิบนุ ตัยมียะฮ์, อัลอิสนาวีย์, และอัซซัรกะชีย์
■ เหตุที่กล่าวเช่นนั้น ก็เนื่องว่าการรักษาไว้ซึ่งศาสนานั้น จะไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ หากไม่รักษาไว้ซึ่งชีวิตก่อน และเพราะอัลลอฮ์นั้นทรงอนุญาตแก่มุสลิมทั้งหลายให้กล่าววาจาที่ทำให้หลุดออกจากศาสนาได้ (ในกรณีที่โดนบังคับ) เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้
● ส่วนการปิดมัสยิดเพื่อกั้นไม่ให้ละหมาดวันศุกร์และละหมาดร่วมกันนั้น หาใช่ว่าไปทำลายกฎเกณฑ์ที่ให้รักษาศาสนาเอาไว้ แต่ความจริงแล้วการรักษาศาสนานั้น เราสามารถที่จะเริ่มต้นละหมาดได้ภายในบ้าน และการละหมาดซุฮ์รีนั้น ก็คือการแทนละหมาดญุมอัตแล้วนั่นเอง นี่คือการรักษาไว้ซึ่งศาสนา
● สมมติว่าการรักษาศาสนานั้นสำคัญกว่าการรักษาชีวิต เป็นทัศนะที่ถูกต้อง การระงับการละหมาดวันศุกร์และละหมาดญะมาอะฮ์ ก็ไม่ใช่เป็นการทำลายศาสนาแต่อย่างใด เพราะยังมีการละหมาดที่บ้านและละหมาดซุฮ์รีที่สามารถใช้ทดแทนการละหมาดวันศุกร์ได้
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " การปิดมัสยิด มิได้เป็นการทำลายศาสนา "